ชินภัทร วิสุทธิแพทย์ |
การวางแผนภาษีมรดก โดย ชินภัทร วิสุทธิแพทย์ |
สวัสดีครับวันนี้ผมจะมาพูดเรื่องการวางแผนภาษีมรดก
สืบเนื่องจากที่ผ่านมาหลายเดือนและต่อจากนี้ไป ผมได้รับเชิญให้ไปบรรยายและพูดให้ลูกค้าธนาคารฟังไม่น้อยกว่า
5 แห่ง รวมทั้งลูกค้าบริษัทประกันชีวิตอีกไม่น้อยกว่า 3-4 แห่ง เกี่ยวกับเรื่องการวางแผนภาษีมรดก
ประเด็นที่น่าสนใจคือว่า ทำไมธนาคารและบริษัทประกันชีวิตจึงให้ความสำคัญกับเรื่องการวางแผนภาษีมรดก
แล้วยังนำไปจัดสัมมนาให้กับลูกค้าฟัง ทั้งที่กฎหมายภาษีมรดกเริ่มใช้บังคับมาตั้งแต่
1 กุมภาพันธ์ 2559 เป็นต้นมา จนปีนี้ 2561 ซึ่งผ่านมา 2 ปีแล้ว
เร็ว ๆ นี้ ผมจะมีบรรยายให้กับบริษัทประกันชีวิตรายใหญ่แห่งหนึ่งของโลก โดยจะบรรยายให้กับตัวแทนประกันชีวิตระดับผู้บริหาร ประมาณเกือบ 100 คน ในลักษณะของ In House Training เป็นเวลา 1 วันเต็ม ไม่ใช่ Public Seminar โดยจะปูพื้นเรื่องกฎหมายครอบครัว ว่าจดทะเบียนสมรสหรือไม่จดทะเบียนสมรสผลเป็นอย่างไร หย่าแล้วเป็นอย่างไร ก่อนจดทะเบียนสมรส มีสัญญาก่อนสมรสที่เรียกว่า Prenuptial Contract หรือไม่อย่างไร และมี Case Study อะไรบ้างที่เกี่ยวกับ Pre-nuptial Contract ในเมืองไทยหรือไม่ จากกฎหมายครอบครัว ก็จะต่อไปที่กฎหมายมรดก ซึ่งจะอธิบายเรื่องพินัยกรรม ทายาทโดยธรรม (โดยธรรมชาติ) คือ ไม่มีพินัยกรรม อธิบายถึง Case ต่าง ๆ ของการทำพินัยกรรม และจะพูดเรื่อง Living View ที่เรียกว่า บันทึกการไม่ยอมรับการรักษาทางการแพทย์ บางทีเค้าเรียกว่า การุณยฆาต หรือ Unplug คือ ปล่อยให้จากไปอย่างสบายไม่ต้องทรมาณ แล้วถึงจะอธิบายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องภาษีมรดก ว่าเมื่อคนเราตายลง มรดกต้องแบ่งหรือไม่ ถ้าไม่แบ่งจะเกิดอะไรขึ้น แล้วใครจะดูแล และการแบ่ง ควรแบ่งอย่างไร และจะแบ่งอย่างไรให้มรดกนั้นแบ่งอย่างถูกต้องตามกฎหมายและเสียภาษีน้อยที่สุด เพราะภาษีมรดกเก็บจากทรัพย์สิน 4 ประเภทคือ 1. ที่ดิน 2. เงินสดในธนาคาร 3. หลักทรัพย์หรือหุ้นทั้งในตลาดหลักทรัพย์และนอกตลาดหลักทรัพย์ และ 4. ยานพาหนะ เราจะแบ่งทรัพย์มรดกประเภทไหนก่อนที่จะวางแผนภาษีมรดกได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย คือ เสียให้ถูกต้องแต่เสียให้น้อยที่สุด จากนั้นมาดูเรื่องของการบริหารจัดการในเรื่องของมรดก โดยนำวิธีคิดที่ฝรั่งใช้กันคือ การทำ Family Trust มาช่วยในการวางแผนภาษีมรดกได้อย่างไร หลังจากนั้นจึงจะไปพูดถึงเรื่องธรรมนูญครอบครัว Holding Com[any การบริหารจัดการทรัพย์มรดกที่เป็นที่ดิน บริหารอย่างไรให้เสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งจะใช้ในปี 2562 ให้เสียน้อยที่สุดและถูกต้องตามกฎหมาย รวมทั้งเรื่องของภาษีลาภลอย และสุดท้ายจะไปพูดเรื่องการวางแผนภาษีในช่วงที่เปลี่ยนผ่านรุ่นต่อรุ่น คือ เรื่องของการนำหุ้นของบริษัทกงสีเข้าตลาดหลักทรัพย์ในรูปของ IPO หรือที่เรียกว่า Initial Public Offering และนี่คือสิ่งที่ผมจะไปพูดให้กับหลายธนาคารและหลายบริษัทประกันชีวิต...ขอบคุณครับ |
taxtanktv.com
| แหล่งรวมความรู้เกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจและภาษี โดย ชินภัทร วิสุทธิแพทย์
| คำจำกัดสิทธิ
| Chinapat Visuttipat |
Facebook
:TaxTank
| Youtube : TAX
TANK TV | รวมคำคม
| รวมภาพชินภัทร
| Contact Us : taxtanktv@gmail.com |
March
2018 - Present (C) All Rights Reserved |